สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง ขับรถผ่านสะพานนี้พอดีก็เลยแวะเอาภาพมาฝากเผื่อใครได้ไปเที่ยวแถวนั้น ที่นี่ก็คงเป็นที่แห่งประวัติศาสตร์อะนะ

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

ข้อมูลเพิ่มเติม (http://www.hotsia.com/lampang/942.shtml)

สะพานรัษฎาภิเศก

สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ใน ต.หัวเวียง อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง เดิมเป็นสะพานโครงสร้างไม้ ที่ทางเจ้าผู้ครองนครลำปาง และชาวจังหวัดลำปางได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437 ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้ทาสีพรางตาและด้วยการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ จึงรอดจากโจมตีทิ้งระเบิดมาได้ หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน สะพานรัษฎาภิเศกภิเษกยังทำหน้าที่สัญลักษณ์ของเมืองลำปาง ในฐานะของ “ขัวสี่โก๊ง(สะพานสี่โค้ง)” “ขัวหลวง (สะพานใหญ่)” “ขัวขาว (สะพานขาว)”

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

ข้อมูลเพิ่มเติม (http://61.19.35.59/poompanya/index.php?option=com_content&task=view&id=23&Itemid=38)

แม้คำจำกัดความของคำว่า สะพาน หมายถึง สิ่งปลูกสร้างที่ทำสำหรับข้ามแม่น้ำลำคลอง ซึ่งในเมืองไทย มีสะพานที่มีชื่อเสียงข้าม แม่น้ำสำคัญ ๆ หลายสายด้วยกัน หากสังเกตที่ชื่อเสียงเรียงนามของสะพานแต่ละแห่งให้ดีแล้วจะพบว่าชื่อของสะพานเหล่านี้ย่อมมีที่ มาที่ไปทั้งสิ้น ซึ่งผู้คนที่ผ่านไปมาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่า สะพานที่ใช้อยู่นั่นมีเรื่องราวที่น่าสนใจและคุณค่าอย่างไร หากพลิกดูปูมประวัติของสะพานแห่งนี้ ย้อนรอยไปกว่า 100 ปี ใสยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ณบริเวณที่เป็นที่ตั้งสะพานรัษฎาภิเศกในปัจจุบันที่ตรงนี้คือที่ตั้งของสะพานชั่วคราว หรือ ขัวหลวง เพื่อให้ชาวบ้านชาวเมือง 2 ฝั่ง แม่น้ำวังได้ใช้เดินข้ามมาหากัน บ่อยครั้งเมื่อถึงฤดูน้ำหลากสภาพของแม่น้ำวังสมัยก่อนไม่เหมือนกับยุคนี้เพราะมีน้ำมาก ไกลแรงและเชี่ยวกราก เมื่อน้ำเหนือไหลบ่ามาแต่ละครั้งมีความรุนแรงพัดพาหอบเอาทุกสิ่งที่ขวางหน้า ขัวหลวงที่สร้างขึ้น ก็พอได้รับผลกระทบจากสภาวะธรรมชาติในลักษณะดังกล่าว ปี 2402 ขัวหลวงก็ยุบพังลงมาใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) เจ้าหลวงนรนันท์ไชยชวลิต (เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 9 ) บิดาของพลตรีมหาอำมาตย์โทเจ้าบุญวาทย์วงค์มานิต (เจ้าผู้ครองนคาลำปางองค์ที่ 10) ได้ระดมเรี่ยไรเงินจากราษฎรได้จำนวนหนึ่งสมทบกับเงินของทางราชการสร้างสะพานไม้ข้ามแม่น้ำวัง ณ จุดเดิม ขนาด 2 โค้ง ยาว

120 เมตร แล้วเสร็จเมื่อปี 2439 เรียกว่า สะพานนครลำปาง แต่มีอายุได้ 6 ปี ก็เริ่มทรุดโทรม

ในสมัย สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) เจ้าพระยาวงศานุประพันธ์เสนาบดีกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้จัดสรรงบประมาณสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กมี 4 โค้ง ยาว 130 เมตร กว้างขนาดรถยนต์ 4 ล้อแล่นสวนทางกันได้ แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2460 ให้ชื่อว่า ขัวหลวงรัษฎาภิเศก หรือ สะพานรัษฎาภิเศก ใช้ประโยชน์มาตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน
แม้สะพานรัษฎาภิเศกมีอายุยืนยาว หากเปรียบเทียบกับชีวิตคนวัยนี้ถือว่าแก่เฒ่าชรามากแล้วแต่สำหรับสะพานแห่งนี้ยังคงมีโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรงไม่มีร่องรอบสึกหรอ หรือแตกร้าวผุกร่อนแต่อย่างใด สะพานแห่งนี้ได้ให้ประโยชน์และคุณค่าของความเป็นสะพานเหนือกว่าสะพานอื่น ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในจังหวัดลำปางเพราะสะพานแห่งนี้เกิดในยุคสมครามโลกครั้งที่ 1 ในตัวเมืองลำปางเป็นพื้นที่เป้าหมายหนึ่งในสงครามครั้งนั้นสะพานแห่งนี้จึงมีบทบาทที่สำคัญในการเป็นเส้นทางผ่านของการลำเลียง
กำลังพลและเสบียงอาหารให้กับกองทหารในสมรภูมิรบ

ในด้านเศรษฐกิจนั้น แต่เดิมการค้าขายระหว่างหัวเมืองฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้รวมทั้งกับทางกรุงเทพมหานคร นิยมค้าขายทางน้ำทั้ง ทางขึ้นและทางลงจากลำปางถึงปากน้ำโพธิ์ นครสวรรค์และกรุงเทพ สินค้าขาล่องจากลำปางได้แค่ คลั่ง งา ปืนดาบ ศิลา และเครื่องจักรสาน ส่วนสินค้าขาเข้าได้แก่ เกลือ น้ำมัน ก๊าซ ไม้ขีดไฟ ปลาแห้ง ปลาเค็ม เสื้อผ้า จุดศูนย์กลางการค้าขายคือบริวเณวัดเกาะวารุ-การราม และบริเวณตลาดใกล้กับสะพานรัษฎาภิเศกในตัวเมืองลำปาง วัดโบราณเจดีย์ ประตูเมืองเก่า คูเมืองเก่า ฯลฯ และยังเชื่อมต่อกับเมืองเก่า อาลัมภางค์ อยู่ห่างออกไปทางด้านตะวันตกราว 1 กิโลเมตร ซึ่งภายหลัง 2 เมืองนี้รวมกันเป็น เขลางค์อาลัมภางค์นคร เพี้ยนเป็น นครลำภางค์ และกลางมาเป็น นครลำปาง ในเวลาต่อมา ที่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวมีทั้งศิลาจารึก ตำนานจามเทวีวงศ์ ตำนวนวัดศรีล้อมและหลักฐานทางโปราณคดีของกรมศิลปากร กล่าวถึงชื่อของนครลำปาง มีมากถึง 11 ชื่อ ได้แก่ กุกุฎนคร ลัมภกัปปนคร เขลางค์นคร ศรีนครชัย เมืองนครเวียงคอกวัว เวียงดิน นครลำปางคำ เขลางค์อาภัมภางค์นคร เมืองลคร และ นครลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง

สพาน รัษฎาภิเศก ลำปาง